วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติ สะพานปลา อ่างศิลา

ประวัติตลาดสะพานปลา อ่างศิลา


ตลาดสะพานปลา อ่างศิลา เป็นจุดที่หลายคนชอบมาแวะ เพราะมีของให้เลือกหลากหลาย โดยเฉพาะคนที่อยากได้ของทะเลสด ไปทำปิ้งย่าง หรือเป็นพวกของทะเลแห้ง ของฝาก จึงเป็นจุดแวะซื้อของกินของฝากที่ใหญ่อีกจุดหนึ่งสะพานปลาอ่างศิลา หรือตลาดสดอ่างศิลา ตั้งอยู่ริมถนนเส้นอ่างศิลา ช่วงเลียบทะเล อยู่ตรงช่วงโค้งริมทะเลพอดี เป็นถนนที่เชื่อมไปยังหาดบางแสนด้วย เปิดขายทุกวันตั้งแต่เช้ามืด จนถึงช่วงทุ่มกว่า บริเวณตลาดมีที่จอดรถกว้างขวาง ร้านค้าตลาดนี้ จะเป็นแบบวางแผงขายตั้งเรียงตั้งแต่ด้านหน้า ไปจนถึงสะพานปลาท่าเทียบเรือประมง ร้านแถวริมถนนจะขายพวกขนม ของกินขึ้นชื่อ พวกข้าวหลาม ขนมจาก ขนมหม้อแกง แจงลอน ทอดมัน พอเริ่มเดินเข้าทางสะพานปลา จะเริ่มมีร้านขายของทะเลสด มากขึ้นเรื่อยๆ มีให้เลือกแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หอย ปู กั้ง ปลา ปลาหมึก จะซื้อกลับบ้าน หรือเอาไปปิ้งย่างต่อ ก็มีเตาถ่าน ถ่าน ตะแกรงย่าง และกล่องโฟมขนาดต่างๆ ขายพร้อมน้ำแข็ง สะดวกมากสำหรับคนที่ไม่ได้เตรียมอะไรมา สามารถซื้อของสดแพ็คกลับไปได้ทันที ใครอยากกินเลย ก็มีร้านรับนึ่ง คิดเป็นกิโลกรัมละ 20 บาท มีน้ำจิ้มขายพร้อมเสริฟ มีให้เลือกทั้งเผ็ดมาก เผ็ดน้อย ใครชอบกินปลาหมึกย่างเป็นไม้ๆ ก็มีย่างขายกันสดๆ มีทั้งแบบที่มีเฉพาะหนวด ไข่ หรือแบบทั้งตัว พร้อมน้ำจิ้มแซบ เดินกินไปช้อปไป คนที่ชอบกินพวกหอยนางรม อ่างศิลาก็ขึ้นชื่อ เรื่องของหอยสด หอยใหญ่ แกะกันสดๆ เป็นถุงๆ ขายพร้อมเครื่องเคียง หอมเจียว น้ำจิ้มแซบ และยอดกระถิน ใครอยากกินเลย ซื้อครบชุด ก็แซบได้ทุกที่


การจัดเก็บความรู้ ถาม-ตอบ ครกหินอ่างศิลา

1.แรงบันดาลใจในการทำธุรกิจนี้
- ทำสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย

2.วัตถุดิบทำมาจากหินอะไร
- ครกส่วนใหญ่ทำมาจากหินดำ หินสาด หินเขียว

3.ที่มาของหิน ส่วนใหญ่มาจากที่ไหน
- มีหินอ่างศิลา(หินสีขาวๆ) ซึ่งปัจจุบันหายากและมีราคาแพง และหินที่มาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตากและจังหวัดสระบุรี

4.เศษหินสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง
- นำไปทำครกขนาดเล็กจิ๋ว ทำตุ๊กตาหิน และนำไปถมที่

5. ขนาดของครกมีขนาดไหนบ้าง
มีตั้งแต่ขนาด2 นิ้ว  ราคา 150 บาท
    ขนาด 13-15 นิ้ว ราคา 7,000-8,000 ไปจนถึง  10,000 บาท
    และมีขนาดต่างๆตามที่ลูกค้าสั่ง  ขนาดที่ขายดีที่สุด คือ ขนาด 6 นิ้ว ราคา 400 บาท และ ขนาด 7 นิ้ว ราคา 500 บาท

6.ครกหินที่ตีด้วยมือกับเครื่องจักรแต่งต่างกันอย่างไร
-  ครกหินที่ผ่านการตีด้วยมือ จะมีความทนทานสูง กล่าวคือ ครกที่ผ่านการเจียด้วยเครื่องจักร เพราะเครื่องใช้แรงดันน้ำและความร้อนในการเซาะหิน เมื่อหินถูกความร้อนและน้ำ ทำให้เกิดการเปราะแตกง่าย ต่างจากการกะเทาะหรือตีด้วยมือ กินที่นำมาทำเป็นครกจะไม่กระทบกระเทือน จึงมีความแข็งแกร่งเหนียวกว่าครกที่ทำด้วยเครื่อง

7.ทำไม ครกที่ทำมาจากหินอ่างศิลาแท้ๆถึงมีราคาสูง
- เพราะว่า หินอ่างศิลาแท้ๆ นับวันยิ่งหายากมากขึ้น ส่วนหนึ่งอยู่ในพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งที่ดินเหล่านั้นถูกปรับถมสร้างที่อยู่อาศัยตามความเจริญ และอีกส่วนหนึ่งอยู่ในพื้นที่สงวน การเสาะแสวงหาหินอ่างศิลาจึงเป็นเรื่องยากมากในเวลานี้ จึงส่งผลให้ราคาครกหินอ่างศิลาแท้กลายเป็นของสะสมหายาก ซื้อขายกันตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักแสน

8.เทคนิคการดูว่าเป็นครกอ่างศิลาของแท้
- ต้องยกขึ้นส่องกับแดดดูเนื้อหิน เมื่อกระทบกับแสงจะมีเกร็ดเพชรปรากฏขึ้นอย่างมากมาย แต่หากเป็นของไม่แท้จะมีเกร็ดเพชรปรากฏเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

9.ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อครกไปทำอะไรบ้าง
- ส่วนใหญ่ก็จะซื้อครกไปใช้ในครัวเรือน และใช้ในอุตสาหกรรม เช่น น้ำพริกแม่ประนอม ก็มาสั่งซื้อครกไปทำน้ำพริก

10. อุปกรณ์ในการทำครกมีอะไรบ้าง
- หิน , สิ่ว , ลิ่ม , ค้อน , ไม้ฉาก , เครื่องเจีย

11. ประโยชน์จากการทำครกอ่างศิลา
- ทำให้อาชีพที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษไม่สูญหาย
- ทำให้คนในชุมชนมีอาชีพ และรายได้จากการขายของในชุมชน
- ทำให้ประชาชนรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
- ทำให้ชุมชนและจังหวัดเป็นที่รู้จักมากขึ้น

- ทำให้คนรู้ว่าสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวนั้นมีค่า ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์ และจึงทำให้เกิดเป็นภูมิปัญญาที่เป็นมรดกสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน

การจัดเก็บความรู้ ถาม-ตอบ สะพานปลา อาหารแปรรูป

อาหารทะเลแปรรูป

1.ความต้องการอาหารทะเลตากแห้งในปัจจุบันและอนาคตแบ่งเป็นกี่ประเภทจากวัตถุดิบหลัก   
- อาหารทะเลตากแห้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักตามวัตถุดิบ คือ ปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้งและหอยแห้ง โดยปลาหมึกจะมีสัดส่วนการแปรรูปโดยการตากแห้งมากที่สุดประมาณร้อยละ 24 ของผลผลิตปลาหมึกที่จับได้ทั้งหมด รองลงมาคือกุ้งร้อยละ 17 ของผลผลิตกุ้งทั้งหมดในขณะที่การผลิตหอยแห้งจะมีเพียงร้อยละ 1 ของผลผลิตหอยทั้งหมด

2.เครื่องจักรที่ใช้ผลิตกุ้งแห้งประกอบด้วยอะไรบ้าง
- ครื่องต้ม   เครื่องอบ  และเครื่องตีเปลือก

3.ปลาหมึกชนิดใดที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาหมึกตากแห้ง
- ปลาหมึกกล้วย  ส่วนปลาหมึกกระดอง และปลาหมึกสาย จะมีบ้างเพียงเล็กน้อยแต่ไม่นิยม

4.คิดว่าอนาคต อาหารแปรรูปจะมีผลสำเร็จในทางการค้ามากขนาดไหน
- สำเร็จมากกว่าเดิม หากคนไทยช่วยกันดูแล สภาพแวดล้อมให้สมบูรณ์ก็จะมีทรัพยากรสัตว์น้ำให้ได้ดำรงอาชีพกันต่อไป

5.อาหารแปรรูปจะสามารถเป็นอาชีพ ที่ทำรายได้ให้คนไทย ถาวรหรือไม่
- ปัจจุบัน อาหารแปรรูป เป็นส่วนที่ทำรายได้ให้ประเทศได้ดีในส่วนหนึ่ง แต่อนาคตคาดว่าจะเป็นอาชีพถาวรและมั่นคงได้

6.ในการทำธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป มีปัญหาที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อรายได้บ้างหรือไม่
- ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในบางช่วง ทําให้ราคาเพิ่มขึ้นไปอีก ส่งผลให้ลูกค้ามีความต้องการที่จะบริโภคลดลง

7.วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่ในการทำอาหารทะเลแปรรูปคือ
- กุ้งฝอยและปลาหมึกกล้วย

8.อัตรากำไรเฉลี่ยของอาหารทะเลแปรรูปที่ขายได้ประมาณเท่าไหร่
- ร้อยละ 5-6 ของราคาขายของสด

9.มีความจำเป็นมากขนาดไหนในการใช้เครื่องทุ่นแรงในการผลิต
-ขึ้นอยู่กับการผลิตในแต่ละวัน หากเป็นผู้ค้าที่มีความสามารถในการส่งได้หลายที่ก็ทำได้ แต่หากเป็นเพียงร้านเล็กๆก็ไม่จำเป็น เพราะเครื่องผลิตมีราคาค่อนข้างสูงไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเท่าไหร่นัก

ประวัติความเป็นมาครกหินอ่างศิลา

ประวัติความเป็นมาครกหินอ่างศิลา

     ลักษณะภูมิประเทศตำบลอ่างศิลา ประกอบด้วยหินอัดเป็นประเภทหินแกรนิตและหินทราย หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชันซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นเขา ติดกับฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวล, สีเหลืองอ่อนและมีความแข็งแกร่งจำนวนมากที่ตำบลอ่างศิลาทำให้เกิดอาชีพการทำครกหินและกลายเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านชาวประมงอ่างศิลา



            สภาพหมู่บ้านตำบลอ่างศิลาเดิมเรียกว่า อ่างหินเนื่อง จากมีอ่างหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านอาชีพที่สำคัญของชาวตำบลอ่างศิลา นอกจากการทำประมงทางทะเล ทอผ้าแล้วอาชีพที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาชีพแกะสลักหิน เมื่อกล่าวถึง อ่างศิลาสิ่ง แรกที่คนทั่วไปจะนึกถึงก็คือครกหิน เพราะครกหินเป็นสัญลักษณ์ของสินค้าพื้นเมือง ที่นำชื่อเสียงมาให้แก่ชาวตำบลอ่างศิลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจาก ครกหินอ่างศิลามีจุดเด่นอยู่ที่หินมีความแข็งแกร่งตำแล้วไม่เป็นทรายและมีสี ขาวนวลหรือเหลืองอ่อนนอกจากการทำครกหินแล้วชาวตำบลอ่างศิลายังนำหินมาแกะ สลักเป็นรูปต่าง ๆเช่นรูปเจ้าแม่กวนอิม พระพุทธรูป ซึ่งมีความสวยงามมาก มีคนจีนอพยพและมาอาศัยอยู่ในตำบลอ่างศิลาซึ่งต้องการทำของต่าง ๆ เช่น อาหารขนมเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากข้าวแล้วนำมาบดให้ ละเอียดเป็นแป้ง คนจีนเหล่านั้นจึงหาวิธีที่จะนำหินมาทำโม่เพื่อโม่แป้งและเห็นว่าอ่างศิลามี หินที่เหมาะสมที่จะทำโม่ จึงสกัดหินมาเพื่อใช้ทำโม่ และเมื่อมีเศษหิน เหลือชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ไม่สามารถทำโม่ได้แล้วจึงลองนำมาทำครกหินดูเพื่อ ใช้ตำน้ำพริก และหรือบดของอื่น ๆจนกระทั่งกลายมาเป็นของใช้ประจำบ้านอย่างหนึ่งแต่เดิมครกที่ทำที่ตำบลอ่าง ศิลาจะไม่มีการซื้อขายครกกันในพื้นที่ของตำบลแต่จะนำไปส่งขายที่ กรุงเทพฯหรือ ต่างจังหวัด ดังนั้นชื่อเสียงของครกหินอ่างศิลาจึงเป็นที่รู้จักของชาว กรุงเทพฯและคนในจังหวัดอื่น ๆ เป็นอย่างดี ต่อมาความต้องการสินค้าประเภทครกหินเพิ่มมากขึ้นอาชีพการทำครกหินก็มากขึ้น จนบ้านอ่างศิลา ได้ถูกสกัดหินนำมาใช้จนหินมีปริมาณเหลือน้อย ดังนั้น จึงนำหินจากต่างจังหวัดเข้ามาทำครกหินกันในตำบลอ่างศิลา รวมทั้งมีการปรับปรุงรูปแบบและมีเอกลักษณ์เป็นการเฉพาะตัวคือครกหินอ่างศิลาจะต้องมีสองหูเท่านั้น

ประวัติความเป็นมาข้าวหลามหนองมน

ประวัติ ข้าวหลามหนองมน

ถ้าเอ่ยชื่อหนองมนขึ้นมา น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะไม่ว่าใครที่เคยไปเที่ยวบางแสน จ.ชลบุรี หรือผ่านทางนั้น ก็คงคุ้นเคยดีกับร้านค้าที่เรียงรายข้างถนนที่มีมากมายสารพัดอย่าง โดยเฉพาะ"ข้าวหลามหนองมน"อันโดดเด่นซึ่งถือเป็นสินค้าของฝากติดมือขึ้นชื่อ นักกินหลายๆคนต่างยกให้ข้าวหลามหนองมนเป็นหนึ่งในข้าวหลามในดวงใจที่กินเมื่อไหร่ก็อร่อยเมื่อนั้น มาวันนี้ข้าวหลามหนองมนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาช้านานก็ยังคงเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งรูปรสกลิ่นที่ชวนกินอยู่ไม่เสื่อมคลาย





กว่าที่ข้าวหลามหนองมน จะโด่งดังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวนั้น แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านหนองมนมีอาชีพทำนา เมื่อหมดหน้านาก็จะทำข้าวหลามเป็นของหวานกินกันตามอัตภาพ โดยจะนำข้าวเหนียวไปแลกกับน้ำตาลและมะพร้าวจากหมู่บ้านอื่น ส่วนไม้ไผ่ป่าก็หาตัดกันเองบนเขาป่ายาง เมื่อมีงานประจำปีที่ศาลเจ้าหลังหนองมน จึงเกิดมีการค้าขายขึ้น พ่อค้าแม่ค้าส่วนจะขายข้าวหลาม ควบไปกับการขายอ้อยควั่นและถั่วคั่ว โดยในยุคนั้นมีขายกันเพียงไม่กี่เจ้า จนเมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ทำให้มีผู้คนแวะเวียนเข้ามาเที่ยวบางแสนมากขึ้น เกิดร้านค้ามากมายเรียงยาวตามเส้นทางสายสุขุมวิท ต.แสนสุข จ.ชลบุรี ที่ไม่ว่าใครผ่านไปผ่านมาต้องแวะลงไปซื้อข้าวหลามติดไม้ติดมือกลับบ้าน ซึ่งปัจจุบันข้าวหลามหนองมนผ่านยุคผ่านสมัยมาเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว

การจัดเก็บความรู้ ถาม- ตอบ ข้าวหลามหนองมน

1.)  ข้าวหลาม...เผาอย่างไรให้อร่อย?

- ข้าวหลาม : ทุกคนรู้จักดีมีขายทั่วทุกมุมของประเทศทุกภาค ทุกจังหวัด แต่ที่เด่นๆ และขึ้นหน้าขึ้นตาก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า ต้องเป็นข้าวหลามหนองมนขึ้นชื่อมากในเรื่องของความอร่อย ไม่ว่าจะเป็นไส้ต่างๆหลากหลายกระบอกไม้ไผ่ก็เป็นอีกมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งที่ทำให้ข้าวหลามหน้าทานและเป็นที่นิยมกันด้วย เพราะเวลาผ่านหนองมนเมื่อไหร่ก็ต้องแวะ หรือแม้กระทั่งคนกรุงเทพ ผ่านมาเที่ยวขากลับก็ต้องแวะกันใช่ไหมคะ..

- อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย ไม้ไผ่ ข้าวสารเหนียว แต่ทำอย่างไรให้อร่อยนี่คือจุดสำคัญ

2.) ไผ่ชนิดไหนที่เหมาะกับการทำข้าวหลามมากที่สุด?
- ไผ่ : ที่ใช้ทำข้าวหลามไม่ใช่ว่าเป็นไม้ไผ่ก็จะทำได้ทุกชนิด จะมีบางชนิดเท่านั้นที่ใช้ทำข้าวหลามได้ดี แต่ข้อสังเกตุคือ ทุกจังหวัดทำข้าวหลามขายแต่ไม่มีไผ่ให้เห็น ไม่มีการปลูกไผ่ ไม่ส่งเสริมการปลูกไผ่ แต่ใช้ไม้ไผ่จำนวนมากมายมหาศาลต่อวัน ใช้แล้วก็กลายเป็นวัสดุไร้ค่า เป็นเพียงเศษไม้อย่างมากก็ทำเชื้อเพลิง แต่บ้านที่ไม่ใช้ฟืนหุงต้มก็จะทิ้งขว้างเป็นขยะต่อไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

- ชนิดของไผ่ที่เหมาะในการทำข้าวหลามสามารถ เรียงจากคุณภาพได้ดังนี้
1. ไผ่ข้าวหลาม : เป็นคุณสมบัติพิเศษ คือ ปล้องยาว 30 - 60 เซนติเมตร มีขนาดหลายแบบทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ และเยื่อไผ่ร่อนดีมาก ทำให้การปลอกออกจากลำไผ่ได้ดีมีทั้งความหอมได้รูปทรงของข้าวหลาม

2. ไผ่ป่า : เป็นไผ่พื้นเมืองที่ให้เยื่อดีมีอยู่ทั่วไป ลำต้นตรงข้อพองแต่เนื้อไม่หนา มีปล้องภายในประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2.5 นิ้ว



3. ไผ่สีสุก : เป็นไผ่ขึ้นตรงลำยาวปล้องยาวและใหญ่แต่เยื่อไม่ค่อยร่อนแต่ก็สามารถใช้ได้



3.) สูตรของข้าวหลามหนองมนมีกี่สูตร?
- สูตรของข้าวหลามหนองมนนั้นมีหลักๆคือ 2 สูตร
1.ข้าวหลามหนองมนสูตรโบราณ  2.ข้าวหลามหนองมนยุคใหม่
เริ่มด้วย ...
สูตรที่ 1.กันก่อน
1.ข้าวหลามหนองมนสูตรโบราณ
ข้าว หลามหนองมนระดับเป็นตำนาน"ร้านแม่เผื่อ"และ"ร้านแม่เหมือน" คนส่วนใหญ่รู้จักกันทั่วตลาดหนองมนในนาม "ข้าวหลามจอมพล" เนื่องจากในสมัยจอมพลสฤษฎ์ และนายพลเนวินแห่งประเทศพม่าเคยเรียกแม่เผื่อและแม่เหมือนไปเผาข้าวหลามให้ กิน ปัจจุบันนี้ร้านแม่เผื่อมีแม่ปราณี ศรีป่านลูกสะใภ้เป็นผู้สืบทอดกิจการ ข้าวหลามที่ทางร้านนำขายมีเพียง 2 ไส้เท่านั้น คือ ไส้เผือกและไส้ถั่ว

สูตรที่ 2.
2.ข้าวหลามหนองมนยุคใหม่
ร้าน แม่นิยม เป็นข้าวหลามยุคใหม่ที่มีการปรับตัว ปรับรสชาติของข้าวหลามไปตามสมัยนิยมเพื่อให้ลูกค้าได้ลองลิ้มชิมรสข้าวหลาม ซึ่งเปลี่ยนร้านข้าวหลามธรรมดาให้กลายเป็นร้านข้าวหลามสะดวกซื้อ เพราะเปิดข้าว 24ชม. ทุกวัน
สำหรับไส้ข้าวหลามของร้านแม่นิยมมีทั้งหมด 9 ไส้ ได้แก่ ไส้เผือก ไส้ถั่ว ไส้กล้วยตาก ไส้เม็ดบัว ไส้มะพร้าวอ่อน ไส้แปะก๋วย ไส้สังขยา และน้องใหม่อย่าง ข้าวหลามชาเขียว

4.) ขั้นตอนและวิธีการทำข้าวหลาม?
- วิธีทำ
1.นำเข้าเหนียวที่จะทำ นำไปแช่น้ำช่วงเวลาเย็น
2. ทำการคั้นกะทิไว้ควรคั้นสดในช่วงเช้าจะดี
3. รุ่งขึ้นตอนเช้าซาวข้าวเหนียวที่แช่ไว้นำมาใส่กะทิ น้ำตาล และเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. นำข้าวเหนียวที่ผสมใส่ลงไปในกระบอกไม้ไผ่ที่ได้เตรียมไว้แล้ว ให้น้ำท่วมเมล็ดข้าวเหนียวให้เหลือพื้นที่ปากกระบอกไม้ไผ่ไว้ประมาณ 2 นิ้ว
5. นำไปเผาไฟโดยใช้ความร้อนปานกลางเผาให้สุกอย่าให้ไฟลุกจะทำให้ไหม้กระบอก ควรเป็นลักษณะไฟถ่าน ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
6. ถ้าจะใส่ไส้สังขยาหรือถั่วดำให้เปิดจุกแล้วใช้ไม้สะอาดขนาดเท่านิ้วมือเราแทงลงไปตรงกลางข้าวหลามให้เป็นรูแล้วนำสังขยาเทใส่ ปิดฝาอุด แล้วนำไปเผาต่อให้สุกใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
7. เมื่อสุกแล้วยกลงปอกเปลือก กระบอกไม้ไผ่ออก จะได้ข้าวหลามรสสังขยาหรือถั่วดำ หรือแม้แต่ไส้อื่น ๆ ก็ทำได้เช่นกัน

5.) เคล็ดลับความอร่อยของข้าวหลาม คือ...
- การทำข้าวหลามให้อร่อยเคล็ดลับคือ
ข้าวสารเหนียว : เป็นข้าวเหนียวชนิดดี เมล็ดยาวเมื่อสุกมีความหวานอ่อนนุ่ม ควรเลือกข้าวใหม่ คุณภาพดี เมล็ดข้าวสวย
ไม้ไผ่ : ใช้ไม้ไผ่ทำขาวหลาม เช่น ไผ่เปาะ ไผ่หนาม ไผ่ป่า และไผ่กาบแดง ในการทำกระบอกข้าวหลามเพราะด้านในกระบอกจะมีเยื่อไผ่ ยังอ่อนๆ มีเยื่อขาวๆ อยู่ข้างใน แล้วค่อยนำไปเผาไฟ มันจะหอมและอร่อย เหมาะในการทำข้าวหลามให้อร่อย
มะพร้าว : ส่วนที่ใช้เป็นส่วนผสมโดยคั้นเป็นกะทิ จะต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนให้มีเฉพาะเนื้อมะพร้าวที่ขาวสะอาดคั้นเป็นหัวกะทิ กรณีบ้านเราจะใช้ไม้ไผ่ป่าเป็นหลักลำหนึ่งใช้ได้ 10 ปล้อง
การเผาข้าวหลามแบบเผาฟืน : ซึ่งทำให้ข้าวหลามมีกลิ่นหอมน่ากิน ทว่าปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการเผาฟืน มาใช้เตาแก๊สแทน ขณะเดียวกันคนที่เผาข้าวหลามขายก็น้อยลงเรื่อยๆ เพราะกรรมวิธีในการผลิตยุ่งยาก

6.) รู้ไหม ทำไมเรียกว่า ข้าวหลาม
- เพราะ คำว่า หลาม หมายถึง การทำอาหารให้สุกในกระบอกไม้ไผ่โดยใช้ไม้ไผ่สดๆ ตัดให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วบรรจุอาหารที่ต้องการหลามในกระบอกไม้ไผ่นั้น ก่อนหลามต้องใช้กาบมะพร้าวห่อใบตอง อุดปากกระบอกเสียก่อน แล้วนำไปเผาจนสุก เช่น การหลามข้าวหลามนั่นเอง

7.) การเผาข้าวหลามมีการแบบ อะไรบ้าง

- การเผาข้าวหลามมี 2 แบบ คือ การเผาในเตาฟืนและเผาในเตาแก๊ส
                การเผาข้าวหลามแบบฟืนเป็นการเผาข้าวหลามแบบดั้งเดิม ที่ต้องวางเรียงข้าวหลามบนพื้นดินเป็นแถวยาว ใช้กาบมะพร้าว ฟืน และเศษไม้ไผ่ที่เหลือจากการทำกระบอกข้าวหลามมาสุม คนเผาต้องใช้แรงและพลังงานเยอะในการเผา ซึ่งกว่าจะได้ข้าวหลามมา ต้องใช้เวลาเผานานกว่า 3 ชั่วโมง ทั้งยังต้องล้างเก็บ ทำให้ยากลำบาก คนทำข้าวหลามในปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากการเผาข้าวหลามแบบโบราณมาใช้เตาเผาแทน

8.) ข้าวหลามมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
- ข้าวหลามหนองมน เป็นอาหารลือชื่อของจังหวัดชลบุรี ซึ่งข้าวหลามหนองมนนี้มีประวัติที่เล่าต่อกันมาว่า
ในอดีต ชาวบ้านหนองมนทำนาเป็นอาชีพหลัก และทำข้าวหลามขายเป็นอาชีพรอง เมื่อหมดฤดูทำนาก็จะขึ้นไปตัดไม้ไผ่บนเขาบ่อยาง ซึ่งอยู่ในละแวกหมู่บ้าน แล้วเอาข้าวเหนียวที่ปลูกได้ไปแลกน้ำตาลกับมะพร้าวจากบ้านอื่นๆ เพื่อมาทำข้าวหลามขายในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ในปี พ.ศ. 2485 ได้เอื้อให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวหาด
บางแสน ซึ่งเป็นที่เที่ยวโด่งดังในยุคนั้นได้สะดวกขึ้น นักท่องเที่ยวจึงแวะซื้อข้าวหลาม เป็นของฝากกลับบ้าน ทำให้ข้าวหลามหนองมนมีชื่อเสียงมากขึ้น
ต่อมา จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น มาพักตากอากาศที่บางแสนพร้อมกับนายพลเนวิน ผู้นำประเทศพม่า และได้สั่งให้แม่ค้าข้าวหลามที่ตลาดหนองมน
ชื่อแม่เผื่อและแม่เหมือน ไปสาธิตวิธีการเผาข้าวหลามให้ชม จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ

9.) ค่านิยมและความเชื่อเกี่ยวข้าวหลาม
- ข้าวหลามถือว่าเป็นอาหารที่รู้จักกันมานามพอสมควรซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีวิธีการผลิตแตกต่างกัน นอกจากจะเป็นอาหารประจำครอบครัวแล้ว นิยมนำเป็นของฝากญาติหรือผู้ใหญ่ที่นับถือ ถือเป็นสัมพันธภาพที่ยั่งยืนดั่งข้าวเหนียว นอกจากนี้ยังมองเห็นถึงความเป็นคนไทยที่ไปมาหาสั่นมักจะนำของฝากติดมือไปด้วยเสมอ

10.) รู้หรือไม่ว่าข้าวหลามให้พลังงานและมีคุณค่าทางโภชนาการเท่าไหร่
- คุณค่าทางโภชนาการของข้าวหลาม : 100 กรัม
ข้าวหลามหนองมน
พลังงาน           208.40   กิโลแคลอรี
ความชื้น          48.01      กรัม
เถ้า                  1.14        กรัม
โปรตีน             3.52        กรัม
คาร์โบไฮเดรต  42.55       กรัม
ใยอาหาร          2.10         กรัม

ไขมัน                2.68         กรัม